ความปลอดภัยในการทำงานบนรถกระเช้า


รถกระเช้า ที่ไม่มีวัตถุประสงค์หลักสำหรับใช้ในงานดับเพลิง/กู้ภัย จะเป็นรถกระเช้าที่ใช้ในการซ่อมบำรุงหรือการดัดแปลงตกแต่งบนที่สูง เช่น เสาไฟฟ้า สายไฟฟ้า หลังคาบ้าน โดยติดตั้งแขนและกระเช้าบนรถบรรทุกขนาดเล็ก อาทิเช่น รถกระบะ รถแชสซีส์เปล่า รวมถึงรถที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ ยกกระเช้าขึ้นลงด้วยระบบไฮดรอลิกหรือไฟฟ้าบังคับควบคุมในห้องคนขับหรือส่วนที่แยกออกมาต่างหาก ปกติทั่วไปมี 2 ชนิด ได้แก่

1. ชนิดแขนเชื่อมต่อกันเป็นส่วนๆ (Articulated Boom) ปลายสุดเป็นกระเช้าหรือ
ถังสำหรับตัวคนเข้าไปยืนปฏิบัติงาน มีทั้งแบบหุ้มฉนวนและไม่หุ้มฉนวน

2. ชนิดแขนเหยียดที่ยืดระยะออกไปได้ [Extendible (telescopic) Boom] ปลายสุด
เป็นกระเช้าหรือถังสำหรับตัวคนเข้าไปยืนปฏิบัติงาน มีทั้งแบบหุ้มฉนวนและไม่หุ้มฉนวน
และยังมีชนิดลูกผสม (Hybrid aerial device) มีแขนเชื่อมต่อและแขนเหยียดอยู่ในชุดเดียวกัน

ก่อนลงมือปฏิบัติงานบนรถกระเช้า เราจะต้องเรียนรู้กฎความปลอดภัยเป็นอันดับแรก - อ่านและทำความเข้าใจข้อแนะนำของผู้ผลิต กฎของบริษัทรวมไปถึงข้อบังคับตามมาตรฐานหรือกฎหมาย
- ฝึกอบรมวิธีการทำงานและฝึกปฏิบัติด้วยอุปกรณ์จริง - เรียนรู้แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในสภาพการทำงานและเงื่อนไขต่างๆ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้